IOIO board ตัวนี้ ใช้ชิป PIC24FJ256DA (memory มากกว่า PIC24FJ128DA เท่าตัว) สามารถรองรับ firmware รุ่นปัจจุบัน และอนาคตได้แน่นอน
และใช้ Switching Regulator ทำให้ใช้ไฟเลี้ยงได้กว้างกว่า ประหยัดพลังงานกว่า ความร้อนน้อยกว่า
สำหรับบอร์ด IOIO นั่นเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เดิมทีเกิดมาเพื่อเชื่อมต่อกับแอนดรอยด์โดยเฉพาะ โดยต่างจากไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวอื่นๆ เพราะปกติแล้วการเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับแอนดรอยด์ ไม่ว่าจะใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวใดก็ตาม
จะต้องเขียนโปรแกรมให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์และต้องเขียนแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ และยังสามารถได้เรียนรู้ในการเขียนโปรแกรม แอปพลิเคชันบน Android อีกด้วยเพื่อที่จะเอาไปประยุกต์ใช้งานต่อได้
ข้อควรระวัง
โปรดหลีกเลี่ยง IOIO board รุ่นที่ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้ PIC24FJ128DA เพราะท่านอาจไม่สามารถ up firmware version ใหม่ๆได้ และใช้ Linear Regulator แทน ซึ่งจะทำให้ใช้พลังงานมากกว่า และมีความร้อนมากกว่า
สอบถามราคา ได้ที่ Lineid:0840844653
พื้นฐานผู้เข้าอบรม :
– ต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมมาบ้าง เช่น Java/C
– สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานได้
– ต้องมีโน๊ตบุ๊คส่วนตัว
เหมาะสำหรับ : ผู้ที่มีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม และผู้ที่สนใจพัฒนางานทางด้านระบบ นักศึกษาปริญญาตรีที่จะทําโปรเจคจบ
วัตถุประสงค์
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ โปรแกรม IOIO board
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ การทำความเข้าใจในหลักการของการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ การทำความเข้าใจ และใช้เซนเซอร์ และส่วนประกอบหลายชนิด
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ การเชื่อมต่อ IOIO board เข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อรายงาน และควบคุม
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้เครื่องมือในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
– สอนเรียนรู้เกี่ยวกับ การทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานในการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มเป้าหมาย
– ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือ ไม่มีพื้นฐาน ในด้านอิเล็กทรอนิกส์
– ผู้ที่มือใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับ IOIO board
– นักเรียนที่ต้องการทบทวน IOIO board อย่างรวดเร็ว
– ผู้ที่มีความรู้ระดับกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์
– IT Managers
– นักเรียน/นักศึกษา/ผู้ประกอบการ และ Freelance และ Web Developer
– กลุ่มลูกค้าผู้สนใจทั่วไป
ความรู้พื้นฐาน และ การอบรม
-ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษา Java/Python/PHP
สารบัญ
บทที่ 1 แนะนำบอร์ด IOIO-Q
บทที่ 2 ติดตั้งเครื่องมือพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์
บทที่ 3 IOIO Activity แผงวงจรเพื่อการเรียนรู้สำหรับ IOIO และ IOIO-Q
บทที่ 4 ทดสอบการติดต่อระหว่างอุปกรณ์แอนดรอยด์และบอร์ด IOIO-Q
บทที่ 5 เริ่มต้นกับการสร้างแอฟพลิเคชั่น
บทที่ 6 ภาษาจาวาเบื้องต้นของแอนดรอยด์
บทที่ 7 ไลบรารีเบื้องต้นของ IOIO
บทที่ 8 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 9 การใช้งานพอร์ตอินพุตดิจิตอลของ IOIO-Q
บทที่ 10 IOIO-Q กับการอ่านค่าสัญญาณอะนาลอก
บทที่ 11 สร้างสัญญาณ PWM ด้วย IOIO-Q
บทที่ 12 ใช้งาน IOIO-Q กับตัวตรวจจับอะนาลอกหน้าที่พิเศษ
เนื้อหาในการสอน
บอร์ดนี้ชื่อว่า IOIO Board สำหรับ android
คุณสมบัติของบอร์ด IOIO Android
1. พัฒนาขึ้นโดยไมโครคอนโทรลเลอร์ เบอร์ PIC24FJ128DA ร่วมกับ USB OTG (On The Go) หมายถึง มี USB Host อยู่ในตัวทำให้เขียนโปรแกรมส่งสัญญาณไปควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ ผ่าน USB Port
2. รองรับอินพุตเอาต์พุต (GPIO : General Purpose Input Output) จำนวน 48 ช่องสัญญาณ
3. รองรับอินพุตอะนาลอก 16 ช่อง ต่อเข้ากับโมดูลแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอล ความละเอียด 10 บิตภายในตัวชิป
4. รองรับเอาต์พุต PWM ความละเอียด 10 บิต 9 ช่อง
5. รองรับพอร์ตสื่อสารอนุกรม UART 4 ชุด
6. รองรับระบบบัส 2 สาย 3 ชุด
7. รองรับการทำงานกับบัส I2C
8. หัวต่อคอนเน็กเตอร์ USB แบบ A ทำให้ใช้สายเชื่อมต่อพอร์ต USB ของแอนดรอย์ได้เลย
9. มี LED แสดงผลการทำงาน และ LED แสดงสถานไฟเลี้ยง
10. ไฟเลี้ยง 5 ถึง 12V
11. แหล่งจ่ายไฟบนบอร์ด มี 2 ชุดคือ +3.3V สำหรับเลี้ยงวงจรและไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC24FJ128 และ +5V 1500mA แบบสวิตชิ่ง สำหรับเลี้ยงอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่นำมาต่อร่วมด้วย
12. บอร์ด IOIO พัฒนาโดย YTAI http://ytai-mer.blogspot.com แบบโอเพ่นซอร์ส สามารถนำเอา schematic และแผ่นวงจร PCB รวมถึง Firmware ไปพัฒนาเป็นโปรเจ็คต่อไปได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์
13. การเชื่อมต่อแอนดรอยด์ใช้การสื่อสารแบบ ADB ผ่าน CLI (Command Line Interface) ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 1.5 ขึ้นไป